วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนะนำเภสัชศาสตร์ ศิลปากร ปี 52 ส่วน 1

การปรุงยา

เภสัชกร สอนดอก

รายละเอียดการเรียนเภสัชศาสตร์

รายละเอียดการเรียนเภสัชศาสตร์

เภสัชศาสตร์ (Pharmacy) :

บทนำสู่วิชาเภสัชศาสตร์ (Introduction to Pharmacy)

“ยา” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ อันแสดงถึงความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีพ และสำคัญจนกระทั่งมีพระโพธิ ด้านการปรุงยาเลยทีเดียว นามว่า “พระไภษัชยคุรุประภาตถาคต” ทรงถือหม้อยาในพระหัตถ์ สะท้อนถึงความเก่าแก่ของวิชาเภสัชศาสตร์นับพันปี แต่องค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์นั้น ไม่ได้หยุดนิ่ง หรือดูโบราณ หรือไม่ทันสมัย แต่กลับพัฒนาตามโลกและโรคตลอดเวลา นับเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีคุณอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติ และก็ได้พัฒนาไปพร้อมๆกับศาสตร์ในโลกนี้อีกหลายสาขา จวบจนปัจจุบัน เภสัชศาสตร์ นับว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีคุณอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติ
คณะเภสัชศาสตร์ คงเป็นคณะที่น้องๆหลายคนใฝ่ฝันอยากเข้า หลายคนอาจคิดว่ารู้แล้ว ว่า เภสัชเรียนเกี่ยวกับอะไร แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า แท้จริงแล้ว เภสัชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่
นิยามของวิชาเภสัชศาสตร์ (Definition of Pharmacy)
คำว่า “เภสัชศาสตร์” ก็มาจากคำว่า “เภสัช” ซึ่งแปลว่า “ยา” และ “ศาสตร์” ซึ่งหมายถึง “ความรู้” ส่วนคำว่า “Pharmacy” มาจาก “Pharmakon” ซึ่งแปลว่า “ยา” ดังนั้น เภสัชศาสตร์ จึงหมายถึง ความรู้ในเรื่องยา หรือ การศึกษาเกี่ยวกับยา
ขอบเขตของวิชาเภสัชศาสตร์ (Scope of Pharmacy)
การศึกษาเกี่ยวกับยานั้น เราศึกษาตั้งแต่ แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา
ดังนั้น เภสัชศาสตร์ จึงเป็นวิชาที่เป็นสหสาขาวิชา คือ บูรณาการหลายๆศาสตร์เข้าด้วยกัน แต่มุ่งไปยังเรื่องของ “ยา”
แต่ในปัจจุบัน ขอบเขตของเภสัชศาสตร์ครอบคลุมในเรื่องยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารพิษ สารเสพติดและสารออกฤทธิ์ต่างๆ กล่าวโดยสรุป เภสัชศาสตร์ ก็คือการศึกษาเกี่ยวกับสารเคมีใดๆที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์ (และ ) และการใช้สารเคมีเหล่านั้นกับร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ (โดยเฉพาะ ในทางการแพทย์)
สาขาของวิชาเภสัชศาสตร์ (Fields of Pharmacy)
1. กลุ่มวิชาบริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical Care) :
1.1 สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล (Clinical Pharmacy and Hospital Pharmacy)
เภสัชกรรมคลินิก เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโรคต่างๆและการรักษา ตั้งแต่พยาธิกำเนิด พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การดำเนินของโรค ระบาดวิทยา ปัจจัยก่อโรค ปัจจัยส่งเสริม การวินิจฉัยและการรักษา ทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา
เภสัชกรคลินิกจะดูแลการใช้ยาในผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบการบริหารยา (ชนิดตัวยา รูปแบบยา ขนาดยา ทางของการให้ยา) การประเมินการใช้ยา การค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา เช่น จ่ายยาเกินความจำเป็น ขนาดยาต่ำเกิน ขนาดยาสูงเกิน เป็นต้น การติดตามอาการไม่พึงประสงค์ เช่น อันตรกิริยาของยา ผลข้างเคียงของยา การแพ้ยา และการปรับขนาดยาในผู้ป่วยในสภาวะต่างๆ เช่น ผู้ป่วยโรคตับหรือไต เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ คือ การดูดซึมยา การกระจายยา การแปรสภาพยา และการขับยา รวมทั้งความรู้ทางเภสัชพลศาสตร์ คือ กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ในปัจจุบัน มีหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตร 6 ปี เรียกว่า “Doctor of Pharmacy” หรือ “ห-ม-อ-ย-า” นั่นเอง โดยจะมีการราวด์วอร์ดร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ โดยเภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Care Team) ดูแลผู้ป่วยในเรื่องยาอย่างใกล้ชิด
ส่วนเภสัชกรรมโรงพยาบาล เป็นการพูดรวมไปถึงระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล ซึ่งก็คืองานการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมทั้งงานการบริหารคลังเวชภัณฑ์ด้วย
1.2 สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชม (Community Pharmacy)
เภสัชกรรมชุมชน ก็คือ ร้านยา นั่นเอง เภสัชกรชุมชน นอกจากจำหน่ายยาแล้ว ยังต้องทำการซักประวัติ การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การเลือกใช้ยาและขนาดที่เหมาะสม แนะนำวิธีการใช้ยา นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาเรื่องยาและสุขภาพ รวมทั้งต้องมีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการร้านยาในเชิงธุรกิจอีกด้วย
1.3 สาขาวิชาเภสัชสาธารณสุข (Pharmacy Public Health)
เภสัชสาธารณสุข เป็นการประยุกต์ความรู้ทางสาธารณสุขศาสตร์มาใช้ในงานทางเภสัชกรรม เช่น ระบบยา นโยบายแห่งชาติด้านยา พฤติกรรมสุขภาพ งานสาธารณสุขชุมชน การบูรณาการองค์ความรู้ทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ มาใช้ในงานเภสัชสาธารณสุข เช่น พฤติกรรมการใช้ยาของกลุ่มประชากรที่มีความแตกต่างเรื่องเพศ อายุ เชื้อชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคม การใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น เช่น การใช้ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนมาเสพเป็นยาเสพติด เป็นต้น รวมทั้งการใช้ความรู้ทางเภสัชระบาดวิทยาและเภสัชเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการศึกษาและจัดการปัญหาทางสาธารณสุขที่เกี่ยวกับยาและการใช้ยาของประชาชนด้วย
เภสัชกรสาธารณสุขในหน่วยงานทางสาธารณสุข เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การขึ้นทะเบียนยาและสถานประกอบการ ควบคุมการจำหน่ายยา และควบคุมดูแลการทำงานของเภสัชกร
2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม (Pharmaceutical Science) :
2.1 สาขาวิชาเภสัชเวท (Pharmacognosy)
เภสัชเวท เป็นการศึกษาตัวยาและสารช่วยทางเภสัชกรรมจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งพืช จุลินทรีย์ และแร่ธาตุ แหล่ง เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง น้ำมันตับปลา หมู วัว แหล่งจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ แบคทีเรีย แหล่งแร่ธาตุ เช่น Aluminium, Magnesium, Clay, Bentonite รวมทั้งพวกสาหร่าย เห็ด รา ด้วย เปลือกสนสกัด สารสกัดเมล็ดองุ่น สารสกัดจากปลาทะเลน้ำลึก อะไรทำนองนี้ รวมทั้ง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการผลิตตัวยาด้วย เช่น การหมักจุลินทรีย์ การเพาะเลี้ยงเซลล์พืชและเซลล์ พันธุวิศวกรรม เป็นต้น
2.2 สาขาวิชาเภสัชเคมี (Pharmaceutical Chemistry)
เภสัชเคมี ก็คือ เคมีของยา ยาก็คือ สารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ จึงมีโครงสร้างเป็นวงเป็นเหลี่ยมเป็นกิ่งก้านสาขา บางชนิดมีโครงสร้างง่ายๆ แต่บางชนิดก็มีโครงสร้างซับซ้อน อย่างที่น้องหลายคนคงเคยเห็น การตัดหมู่ฟังก์ชันบางตำแหน่งออก การเพิ่มหรือเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชัน จะมีผลต่อเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ของยา รวมทั้งคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของยาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งสูตรตำรับ โดยเราสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เหล่านี้ในการวิจัยและการพัฒนายาโดยการปรับปรุงโครงสร้างของยา และการออกแบบยาเพื่อให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการออกฤทธิ์ที่จำเพาะมากขึ้น
2.3 สาขาวิชาเภสัชวิเคราะห์ (Pharmaceutical Analysis)
เภสัชวิเคราะห์ ก็คือ วิชาการวิเคราะห์ยา น่ะแหละ เป็นการหาปริมาณยาและสารปนเปื้อน โดยใช้วิธีการทางเคมีต่างๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงน้ำหนัก การวิเคราะห์เชิงปริมาตรหรือการไทเทรต (กรด-เบส, สารเชิงซ้อน, รีด็อกซ์ ) การวิเคราะห์เชิงไฟฟ้า (Potentiometry, Voltametry, Polarography) การวิเคราะห์เชิงแสง (Polarimetry, Turbidimetry, Nephelometry) สเป็คโทรโฟโทเมตริ (UV, IR, NMR, MS) โครมาโทกราฟี่ (HPLC, GC, TLC) โอย.... สารพัด ทำงานในฝ่ายควบคุมคุณภาพในโรงงานยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และอาจได้เป็นพยานในศาลด้วย เพราะฉะนั้น วิเคราะห์ให้ดีล่ะ ไม่งั้นฝ่ายตรงข้ามจะหาจุดผิดพลาดของเราพลิกคดีได้

2.4 สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology)
เทคโนโลยีเภสัชกรรม ก็คือวิชาการผลิตยานั่นเอง ถ้าเราลองสังเกตยาแต่ละชนิด จะเห็นความแตกต่างในหลายรูปแบบ แต่พี่เชื่อเลยว่า น้องคงเคยเห็นไม่กี่แบบ หรือนึกได้ ไม่กี่ชนิด แต่ความจริงแล้ว ยามีหลายรูปแบบมาก เช่น ยารูปแบบของแข็ง (ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาแกรนูล ยาเหน็บ) ยารูปแบบของเหลว ( อโรมาติกวอเตอร์ สปิริต อิลิกเซอร์ ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำอิมัลชัน ยาน้ำแขวนตะกอน) ยารูปแบบกึ่งแข็ง (ยาขี้ผึ้ง ครีม เพสต์ เจล) ยารูปแบบไร้เชื้อ (ยาฉีด ยาฝัง ยาตา ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น ฮอร์โมน วัคซีน เซรุ่ม สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด) ยารูปแบบพิเศษ (ยากัมมันตรังสี ยาแอโรโซล ยาแผ่นแปะ ระบบการนำส่งยาแบบต่างๆ) ซึ่งในการผลิตยา ต้องใช้ความรู้หลายสาขา ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และเครื่องจักรกล มาใช้ในกระบวนการออกแบบยา การประดิษฐ์ยา การพัฒนานวัตกรรมทางยา และกระบวนการผลิตยา

3. กลุ่มวิชาเภสัชกรรมสังคม (Social Pharmacy) :
3.1 สาขาวิชาการบริหารเภสัชกิจ (Pharmacy Administration)
การบริหารเภสัชกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการ พฤติกรรมองค์กร การตลาด และการประยุกต์มาใช้ในงานทางเภสัชกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยา โรงงานยา ศูนย์วิจัย ห้องปฏิบัติการ หรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จริงๆแล้ว เภสัชกรทุกสาขาก็ต้องใช้ความรู้นี้ แต่ตรงตัวเลยก็คือ เภสัชกรการตลาดในบริษัทยาต่างๆ
3.2 สาขาวิชานิติเภสัชศาสตร์ (Forensic Pharmacy)
นิติเภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานทางเภสัชกรรมและเภสัชกรทุกสาขา เช่น กฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรม กฎหมายยา กฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กฎหมายยาเสพติด กฎหมายเครื่องสำอาง เป็นต้น และในกระบวนวิชานี้ ยังกล่าวถึงจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งเป็นการศึกษาจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุกสาขา
4. กลุ่มวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology) :
4.1 เภสัชวิทยา (Pharmacology)
เภสัชวิทยา เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยากับร่างกายทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงคลินิก โดยมีการศึกษาใน 2 ลักษณะ คือ เภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์เป็นการศึกษาว่าร่างกายทำอะไรกับยา ได้แก่ การดูดซึมยา การกระจายยา การแปรสภาพยา และการขับยา ส่วนเภสัชพลศาสตร์ เป็นการศึกษาว่ายาทำอะไรกับร่างกาย ซึ่งก็คือกลไกการออกฤทธิ์ของยานั่นเอง เช่น การออกฤทธิ์ผ่านทางรีเซปเตอร์, การยับยั้งเอ็นไซม์ เป็นต้น
4.2 พิษวิทยา (Toxicology)
พิษวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสารพิษชนิดต่างๆ ทั้งสารพิษในธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์ ยาในขนาดที่เป็นพิษ ลักษณะความเป็นพิษต่อร่างกายในระบบต่างๆ กลไกการเกิดพิษ อาการพิษและการรักษา รวมทั้งศึกษาการใช้ ทดลองในการทดลองทางพิษวิทยาด้วย
4.3 ชีวเภสัชศาสตร์ (Biopharmaceutics)
ชีวเภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ยากับร่างกาย โดยศึกษาผ่านทางชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล ชีวประสิทธิผล คือ การศึกษาการดูดซึมของตัวยาเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตเทียบกับปริมาณยาที่ให้ไป ส่วนชีวสมมูล คือการศึกษาเปรียบเทียบการละลายออกของตัวยาจากผลิตภัณฑ์ยาตัวอย่างเทียบกับผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบ ซึ่งตัวยาเดียวกันก็อาจมีการละลายตัวยาออกจากผลิตภัณฑ์ในอัตราต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งสูตรตำรับและกระบวนการผลิต




บทสรุป



น้องจะเห็นว่า การเรียนเภสัชนั้น เป็นการบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อการศึกษาเรื่องของ “ยา” เราจึงไม่ได้รู้อย่างเป็ดเหมือนที่บางคนพูด แต่เราคือผู้เชี่ยวชาญเรื่องยาครับ อย่างคนที่เรียนเน้นมาทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม เค้าก็ต้องเชี่ยวชาญด้านการผลิตยา ใช่มั๊ยครับ ? หรือคนที่เรียนเน้นทางด้านเภสัชวิเคราะห์ เค้าก็เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ยา ใช่มั๊ยครับ ? หรือเภสัชกรในโรงพยาบาลเค้าก็เชี่ยวชาญเรื่องการใช้ยาในทางคลินิก ใช่มั๊ยครับ ?

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเภสัชกรรมไทย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเภสัชกรรมไทย


:: หลักเภสัช๔ ประการ ::

ผู้ที่จะเป็นหมอจะต้องศึกษาในหลักใหญ่ ๔ประการซึ่งเป็นหลักวิชาที่สำคัญที่สุดของเภสัชกรรมไทยที่จะเว้นเสียมิได้ เรียกว่ารู้ในหลักเภสัช ๔ มีดังต่อไปนี้
๑.เภสัชวัตถุ คือ ต้องรู้จักวัตถุธาตุนานาชนิดที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
๒.สรรพคุณเภสัช คือ ต้องรู้จักรสและสรรพคุณของยาและวัตถุธาตุ ที่จะนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรค
๓.คณาเภสัช คือ ต้องรู้จักพิกัดยาคือ ตัวยาหลายสิ่งหลายอย่างที่โบราณาจารย์นำมาจัดไว้เป็นหมวดหมู่
๔.เภสัชกรรมคือ ต้องรู้จักการปรุงยาตามวิธีกรรมแผนโบราณ ตลอดจนรู้จักมาตราชั่ง ตวงของไทยและสากล



:: การรู้จักตัวยา ๕ ประการ ::

ผู้เป็นหมอจะต้องรู้จักตัวยา ๕ ประการซึ่งโบราณาจารย์ได้ใช้เป็นหลักในการพิจารณา เพื่อให้รู้จักตัวยาต่างๆอย่างถูกต้อง
การรู้จักตัวยา ๕ ประการนี้ เป็นวิธีการดูและจำแนกตัวยาว่าตัวยานั้นๆ เป็นเครื่องยาชนิดเดียวกันกับที่แสดงไว้ในตำรับยาหรือตรงตามตัวยาที่ต้องการหรือไม่ โดยพิจารณาตามหลัก ๕ประการดังนี้
๑.รู้จักรูปลักษณะ คือ รู้ว่าตัวยานั้นๆ มี รูปลักษณะอย่างไรเช่น
ในพืชวัตถุรู้ว่าเป็น ต้น ใบ ดอก แก่น กระพี้ ฝัก เนื้อ ผล ยางเป็นต้น
ในสัตว์วัตถุรู้ว่าเป็น หัว หนัง นอ ดี กราม กรวด กระดูก เลือดฟัน เป็นต้น
ในธาตุวัตถุรู้ว่าเป็น บัลลังก์ศิลา เกลือสมุทร กำมะถันแดงทองคำ เป็นต้น
๒.รู้จักสี คือ รู้ว่าตัวยานั้นๆ มีสีเป็นอย่างไร เช่นแก่นฝางเสน มีสีส้ม ผักแพวแดง มีสีแดง รงทอง มีสีเหลือง กำมะถันแดง มีสีแดงกระดองปลาหมึก มีสีขาว งาช้าง มีสีขาวจุนสี
มีสีน้ำเงิน เป็นต้น
๓.รู้จักรสคือ รู้ว่าตัวยานั้นๆ มีรสเป็นอย่างไรเช่นอย่างที่โบราณาจารย์นำมาจัดไว้เป็นหมวดหมู่
๔.เภสัชกรรม คือต้องรู้จักการปรุงยาตามวิธีกรรมแผนโบราณ ตลอดจนรู้จักมาตราชั่ง ตวงของไทยและสากล

ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม

ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม
1.ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาปัญหาพิเศษทางเทคโนโยเภสัชกรรมที่น่าสนใจ โดยการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของคณาจารย์ เขียนรายงานส่งพร้อมทั้งเสนอรายงานต่อคณาจารย์
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อฝึกให้สามารถนำความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีเภสัชกรรมมาประยุกต์ในการค้นคว้า วิจัยแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
ด • พ • กวิทยาศาสตร์สุขภาพ > เภสัชศาสตร์

วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม เภสัชเคมี · เภสัชภัณฑ์ · เภสัชอุตสาหกรรม · เภสัชเวท · เภสัชพฤกษศาสตร์ · เภสัชวิเคราะห์ · เทคโนโลยีเภสัชกรรม · วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

เภสัชบริบาลศาสตร์ เภสัชกรรมคลินิก · เภสัชกรรมโรงพยาบาล · เภสัชกรรมชุมชน

เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร เภสัชศาสตร์สังคม · บริหารเภสัชกิจ · เภสัชสาธารณสุข · เภสัชระบาดวิทยา · เภสัชเศรษฐศาสตร์ · นิติเภสัชศาสตร์

เภสัชวิทยาและพิษวิทยา เภสัชวิทยา · เภสัชจลนศาสตร์ · เภสัชพลศาสตร์ · พิษวิทยา

ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เคมีอินทรีย์ · เคมีฟิสิกส์ · ชีวเคมี · จุลชีววิทยา · กายวิภาคศาสตร์ · สรีรวิทยา · สาธารณสุข

เครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง
1.ลักษณะกระบวนวิชา หลักพื้นฐานในการผลิตเครื่องสำอางประเภทต่างๆ สมบัติทางเคมี กายภาพและทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การทดสอบประสิทธิภาพการใช้และความคงตัวของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาหลักสูตรและวิธีการผลิต เทคนิคการแต่งสี แต่งกลิ่น การใช้สารลดแรงตึงผิว การใช้สารกันบูด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย ตลอดจนศึกษาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้เครื่องสำอางประเภทต่างๆ
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงทฤษฎีและเทคนิคพื้นฐานในการผลิตเครื่องสำอางประเภทต่างๆ เพื่อการนำมาใช้เป็นหลักในการผลิตขั้นอุตสาหกรรม

การผลิตยาจากสมุนไพร

การผลิตยาจากสมุนไพร
1.ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการตั้งและพัฒนาตำรับยาที่มีตีวยาสำคัญ หรือส่วนประกอบจากพืชสมุนไพร
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถฝึกฝนและพัฒนาการเตรียมตำรับจากพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

การผลิตเภสัชภัณฑ์สำหรับสัตว์

การผลิตเภสัชภัณฑ์สำหรับสัตว์
1.ลักษณะกระบวนวิชา เป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาสัตว์ โรคสัตว์ รวมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการในการตั้งสูตร เทคนิคการผลิตและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุ การควบคุมคุณภาพ การประเมินผลยาเตรียมประเภทต่างๆ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ในขั้นอุตสาหกรรม
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เรียนรู้ถึงทฤษฎีและการปฏิบัติในการผลิตยาเตรียมประเภทต่างๆ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ในขั้นอุตสาหกรรม

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา
1.ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา แนวปฏิบัติในระบบการผลิต ได้แก่ บุคลากร สถานที่ผลิต การสุขาภิบาล อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ วัตถุดิบ การบรรจุ ทั้งทางด้านการผลิต ควบคุมคุณภาพ การประเมินความถูกต้องของการผลิตและเอกสารการผลิต เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพมาตรฐานและและปลอดภัย รวมทั้งการประกันคุณภาพในด้านอื่นๆ
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถอธิบายและประยุกต์หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา เพื่อให้ได้ยาที่มาตรฐานมีคุณภาพ และผลิดภัย

ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม

ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
1.ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการแนะนำการวิจัย หลักการและวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของการวิจัย ตลอดจนขั้นตอนต่างๆ ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ให้สามารถนำไปประยุกต์ในการวิจัยต่อไปได้ (ในการเขียนโครงร่างปัญหาพิเศษได้)
หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา

เทคโนโลยีเภสัชกรรม

เทคโนโลยีเภสัชกรรม
1.ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับ
1.การแนะนำเภสัชตำรับ ตำราอ้างอิง และวารสารต่างๆ ทางเภสัชศาสตร์ รูปแบบยาเตรียมชนิดต่างๆ ลักษณะใบสั่งยาและภาษาที่ใช้ในใบสั่งยา การคำนวณทางเภสัชกรรม การชั่ง ตวงวัด และอาลิควอท ตลอดจนความรู้ต่างๆ ตามเภสัชตำรับ
2.เป็นเรื่องของ สมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของผงยา หน่วยการผลิตต่างๆ รูปแบบยาเตรียมต่างๆ ที่เป็นของแข็ง โดยเน้นการศึกษาอย่างละเอียดของยาเตรียมของแข็งแต่ละรูปแบบเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับและการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ ตัวอย่างยาเตรียมตามเภสัชตำรับ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
3.เป็นวิชาที่ศึกษาถึงสมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของสารละลาย เทคนิคการทำให้น้ำยาใส เทคนิคการสกัดและผลิตภัณฑ์ยาสกัดและรูปแบบยาเตรียมน้ำใสต่างๆ โดยเน้นการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับและการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือการบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ และตัวอย่างยาเตรียมน้ำใสตามเภสัชตำรับและจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
4.รูปแบบยาน้ำกระจายตัว และยากึ่งแข็ง โดยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม สมบัติทางเคมีกายภาพ ส่วนประกอบของตำรับ วิธีตั้งตำรับ และการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์การเก็บรกัษา การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และตัวอย่างยาน้ำแขวนตะกอนและยากึ่งแข็งตามเภสัชตำรับ และจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
5.ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเตรียมยาไร้เชื้อ และประเภทรูปแบบยาเตรียมไร้เชื้อต่างๆ โดยเน้นศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับ คุณลักษณะของรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับ และการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และตัวอย่างของยาเตรียมตามเภสัชตำรับ รวมทั้งการผสมตัวยาอื่นกับการให้ยาทางหลอดเลือดดำ และการให้สารอาหารทางหลอดเลือด การควบคุมและการประเมินความถูกต้องของกระบวนการผลิตยาไร้เชื้อ
6.ศึกษาถึงหลักการ สมบัติทางเคมีกายภาพ การตั้งสูตร ตลอดจนการประเมินและการควบคุมคุณภาพของยาเตรียมละอองลอย ยากัมมันตรังสี และยาเตรียมรูปแบบใหม่ๆ
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถ
1.ใช้ตำราอ้างอิง และวารสารต่างๆ ทางเภสัชศาสตร์ได้
2.อธิบายรูปแบบยาเตรียมชนิดต่างๆ ได้
3.รู้จักลักษณะของใบสั่งยา และแปลความหมายของภาษาที่ใช้ในใบสั่งยาได้
4.คำนวณทางเภสัชกรรม และบอกวิธีการปฏิบัติในการชั่ง ตวง วัด และอาลิควอทได้
5.อธิบายความรู้เรื่องต่างๆ ตามเภสัชตำรับได้
6.อธิบายสมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของผงยา และปัจจัยต่างที่เกี่ยวข้อง
7.เข้าใจหน่วยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตยาและเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับความต้องการในการผลิต
8.อธิบายลักษณะและส่วนประกอบของตำรับยาที่อยู่ในรูปแบบยาเตรียมของแข็งชนิดต่างๆ และการเลือกใช้สารช่วยต่างๆ
9.อธิบายวิธีเตรียมยารูปแบบของแข็งชนิดต่างๆ และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
10.อธิบายวิธีควบคุมคุณภาพและประเมินผลยาเตรียมรูปแบบของแข็งชนิดต่าง
11.เลือกใช้วิธีบรรจุและชนิดของบรรจุภัณฑ์ให้เมาะสมกับรูปแบบของแข็งชนิดต่างๆ
12.รู้จักตัวอย่างของยาเตรียมรูปแบบของแข็งที่มีขายในท้องตลาด
13.อธิบายลักษณะและส่วนรปะกอบของยาน้ำกระจายตัวและยากึ่งแข็งได้
14.ตั้งตำรับ พัฒนาตำรับ เตรียมยาตลอดจนสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการเตรียมอธิบายการบรรจุและการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับยาน้ำกระจายตัวและยากึ่งแข็งได้
15.บอกวิธีเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพของยานำกระจายตัวและยากึ่งแข็งตามเภสัชตำรับและจากผลิตภัณฑ์ธรรชาติได้
16.ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเตรียมยาไร้เชื้อต่างๆ ได้ และสามารถนำไปประยุกต์ในการผลิตและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไร้เชื้อประเภทต่างๆ ได้
17.คุณลักษณะและส่วนประกอบของตำรับยาเตรียมไร้เชื้อแต่ละชนิดได้ การตั้งตำรับการพัฒนาตำรับ การเตรียมและการใช้เครื่องมือในการเตรียม การบรรจุและการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมได้
18.เข้าใจถึงหลักการ สมบัติทางเคมีกายภาพ และสามารถประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในการตั้งสูตร และประเมินคุณภาพของยาเตรียมละอองลอย
19.คุ้นเคยกับยากัมมันตรังสี และรู้จักยาเตรียมใหม่ๆ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วีดีโอ 4

สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม

สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:

เภสัชกรคลินิก Clinical pharmacist
เภสัชกรชุมชน Community pharmacist
เภสัชกรโรงพยาบาล Hospital pharmacist
เภสัชกรที่ปรึกษาการใช้ยา Consultant pharmacist
เภสัชกรสุขภาพอนามัยทางบ้าน Home Health pharmacist
เภสัชกรบริหารข้อมูลยา Drug information pharmacist
เภสัชกรสารวัตรยา Regulatory-affairs pharmacist
เภสัชกรอุตสาหกรรม Industrial pharmacist
อาจารย์เภสัชกร Academic pharmacist

หน้าที่ของเภสัชกร

หน้าที่ของเภสัชกร
ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
2.การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับ3.ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
4.ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
5.ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
6.ปรุงยา (compounding medicines)
7.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
8.ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
9.ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
10.ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
11.ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
12.แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
13.ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
14.จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
15.ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
16.ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
17.ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
18.ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)

การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร

การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้

1.ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
2.ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
3.สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)

หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์

หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้

1.เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
2.เคมีเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical chemistry) หรือเคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
3.เภสัชวิทยา (Pharmacology)
4.จุลชีววิทยา (Microbiology)
5.เคมี (chemistry)
6.ชีวเคมี (Biochemistry)
7.เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
8.เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
9.เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
10.สรีรวิทยา (Physiology)
11.กายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
12.อาหารเคมี (Foods Science)
13.เภสัชกรรม (Pharmacy)
14.กฎหมายยา (pharmacy law)
15.เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
16.ไตวิทยา (nephrology)
17.ตับวิทยา (hepatology)
18.ปฏิบัติการเภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management)
19.บริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)บูรณาการด้านการใช้ยากับผู้ป่วย และดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

มหาลัยที่เปิดรับสมัคร คณะ เภสัชศาสตร์

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนแพทย์ปรุงยา"[1] ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย[2]

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมเป็นแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ย้ายสังกัดหลายครั้ง ซึ่งภายหลังได้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์[2]

ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีได้เปิดการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 ภาควิชา และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ, โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

2.มหาวิทยาลัยสยาม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัย เอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ครั้งแรก ในภาคการศึกษา 2549

:: ชื่อหลักสูตร เภสัชศาสตร์บัณทิต ( การบริบาลทางเภสัชกรรม ) Doctor of pharmacy
( Pharmaceutical care )

:: ชื่อปริญญา เภสัชศาสตร์บัณฑิต ( การบริบาลทางเภสัชกรรม ) ภ. บ. ( การบริบาลทางเภสัชกรรม ) Doctor of pharmacy ( Pharmaceutical care )Pharm.D. ( Pharm.care )

3.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะเภสัชศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเพื่อผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ ยังขาดเภสัชกร บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ และใฝ่ศึกษาด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิชาการด้านเภสัชศาสตร์เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เรื่องยาในทุกด้าน ได้แก่ การผลิตยา การจ่ายยา ติดตามและแนะนำการใช้ยาการบริหารและการจ่ายยา เป็นต้น สามารถให้บริการแก่สังคมในสายวิชาชีพเภสัชกรรม และการสาธารณาสุขให้มีประสิทธิผลทางด้านสุขภาพ และอนามัยต่อชุมชนทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดมั่นในจรรยาแห่งวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์ และเจตคติที่ดีต่อสังคม

หลักสูตรของคณะเภสัชศาสตร์เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี โดยการศึกษาช่วง 4 ปีแรก จะเป็นรายวิชาจำเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาชีพทางเภสัชศาสตร์ ส่วนปีที่ 5 จะเป็นกลุ่มวิชาเลือกในสาขาวิชาต่าง ๆ 3 สาขา คือ สาขาเภสัชผลิตภัณฑ์ สาขาชีวเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมบริหาร ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกสาขาใดสาขาหนึ่งได้ตามความถนัดอันจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มีนโยบายที่จะสนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขด้านการพัฒนาร้านยาเป็นสถานที่บริการสาธารณสุข ชุมชน ที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด จึงได้จัดโครงการ “ นักศึกษาเพื่อเภสัชชุมชน ” ขึ้น เพื่อรับทายาทของผู้ประกอบการร้านขายยาเข้าศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์โดยไม่ต้องผ่านการสอบข้อเขียน

ในปีการศึกษา 2552 คณะเภสัชศาสตร์เปลี่ยนหลักสูตรปริญญาตรีเป็นหลักสูตร 6 ปี คือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) และเปิดสอนในระดับปริญญาโทอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

5.มหาวิทยาลัยมหิดล
6.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.มหาวิทยาลัยบูรพา
8.มหาวิทยาลัยศิลปกร
และมหาลัย อื่นๆ อิกมากมาย ยยยย

อาชี พที่ใฝ่ฝัน นน คือ เภสั ชก ร^^"

เภสัชกร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เภสัชกร (อังกฤษ: Pharmacists) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry (PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" ('Boots The Chemist')

คุณสมบัติของเภสัชกร
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์

2.มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี

3.รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง

4.มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้

5.ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์

6.ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต

7.มีความซื่อสัตย์

8.ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา

ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้

เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (Bachelor of Pharmacy (BPharm))
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(ภม) (Master of Pharmacy (MPharm))
เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต (ภบ.บ.) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (บริบาลเภสัชกรรม) (Doctor of Pharmacy (PharmD))
ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้

1.ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปี ได้ ภบบ (PharmD)
2.สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย
3.ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
4.สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD))
[แก้] หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้

1.เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
2.เคมีเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical chemistry) หรือเคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
3.เภสัชวิทยา (Pharmacology)
4.จุลชีววิทยา (Microbiology)
5.เคมี (chemistry)
6.ชีวเคมี (Biochemistry)
7.เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
8.เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
9.เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
10.สรีรวิทยา (Physiology)
11.กายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
12.อาหารเคมี (Foods Science)
13.เภสัชกรรม (Pharmacy)
14.กฎหมายยา (pharmacy law)
15.เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
16.ไตวิทยา (nephrology)
17.ตับวิทยา (hepatology)
18.ปฏิบัติการเภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management)
19.บริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)บูรณาการด้านการใช้ยากับผู้ป่วย และดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
[แก้] การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอเพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้

1.ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
2.ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรมอังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
3.สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)
[แก้] หน้าที่ของเภสัชกร
ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
2.การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
3.ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
4.ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
5.ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
6.ปรุงยา (compounding medicines)
7.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
8.ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
9.ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
10.ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
11.ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
12.แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
13.ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
14.จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
15.ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
16.ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
17.ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
18.ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)
[แก้] สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:

เภสัชกรคลินิก Clinical pharmacist
เภสัชกรชุมชน Community pharmacist
เภสัชกรโรงพยาบาล Hospital pharmacist
เภสัชกรที่ปรึกษาการใช้ยา Consultant pharmacist
เภสัชกรสุขภาพอนามัยทางบ้าน Home Health pharmacist
เภสัชกรบริหารข้อมูลยา Drug information pharmacist
เภสัชกรสารวัตรยา Regulatory-affairs pharmacist
เภสัชกรอุตสาหกรรม Industrial pharmacist
อาจารย์เภสัชกร Academic pharmacist

คุณสมบัติของการ เป็น เภสัชกร

คุณสมบัติของเภสัชกร
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์

2.มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี

3.รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง

4.มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้

5.ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์

6.ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต

7.มีความซื่อสัตย์

8.ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา

ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้

เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (Bachelor of Pharmacy (BPharm))
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(ภม) (Master of Pharmacy (MPharm))
เภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต (ภบ.บ.) หรือ เภสัชศาสตรบัณฑิต(ภบ) (บริบาลเภสัชกรรม) (Doctor of Pharmacy (PharmD))
ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้

1.ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปี ได้ ภบบ (PharmD)
2.สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย
3.ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
4.สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD))

เภสั ชกร ^^"

เภสัชกร (อังกฤษ: Pharmacists) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry (PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" ('Boots The Chemist')