วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มหาลัยที่เปิดรับสมัคร คณะ เภสัชศาสตร์

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนแพทย์ปรุงยา"[1] ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย[2]

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมเป็นแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ย้ายสังกัดหลายครั้ง ซึ่งภายหลังได้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์[2]

ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีได้เปิดการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 ภาควิชา และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ, โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

2.มหาวิทยาลัยสยาม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัย เอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ครั้งแรก ในภาคการศึกษา 2549

:: ชื่อหลักสูตร เภสัชศาสตร์บัณทิต ( การบริบาลทางเภสัชกรรม ) Doctor of pharmacy
( Pharmaceutical care )

:: ชื่อปริญญา เภสัชศาสตร์บัณฑิต ( การบริบาลทางเภสัชกรรม ) ภ. บ. ( การบริบาลทางเภสัชกรรม ) Doctor of pharmacy ( Pharmaceutical care )Pharm.D. ( Pharm.care )

3.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะเภสัชศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเพื่อผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ ยังขาดเภสัชกร บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ และใฝ่ศึกษาด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิชาการด้านเภสัชศาสตร์เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เรื่องยาในทุกด้าน ได้แก่ การผลิตยา การจ่ายยา ติดตามและแนะนำการใช้ยาการบริหารและการจ่ายยา เป็นต้น สามารถให้บริการแก่สังคมในสายวิชาชีพเภสัชกรรม และการสาธารณาสุขให้มีประสิทธิผลทางด้านสุขภาพ และอนามัยต่อชุมชนทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดมั่นในจรรยาแห่งวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์ และเจตคติที่ดีต่อสังคม

หลักสูตรของคณะเภสัชศาสตร์เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี โดยการศึกษาช่วง 4 ปีแรก จะเป็นรายวิชาจำเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาชีพทางเภสัชศาสตร์ ส่วนปีที่ 5 จะเป็นกลุ่มวิชาเลือกในสาขาวิชาต่าง ๆ 3 สาขา คือ สาขาเภสัชผลิตภัณฑ์ สาขาชีวเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมบริหาร ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกสาขาใดสาขาหนึ่งได้ตามความถนัดอันจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มีนโยบายที่จะสนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขด้านการพัฒนาร้านยาเป็นสถานที่บริการสาธารณสุข ชุมชน ที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด จึงได้จัดโครงการ “ นักศึกษาเพื่อเภสัชชุมชน ” ขึ้น เพื่อรับทายาทของผู้ประกอบการร้านขายยาเข้าศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์โดยไม่ต้องผ่านการสอบข้อเขียน

ในปีการศึกษา 2552 คณะเภสัชศาสตร์เปลี่ยนหลักสูตรปริญญาตรีเป็นหลักสูตร 6 ปี คือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) และเปิดสอนในระดับปริญญาโทอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

5.มหาวิทยาลัยมหิดล
6.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.มหาวิทยาลัยบูรพา
8.มหาวิทยาลัยศิลปกร
และมหาลัย อื่นๆ อิกมากมาย ยยยย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น